• warning: preg_match(): Compilation failed: disallowed Unicode code point (>= 0xd800 && <= 0xdfff) at offset 1811 in /home/wwwit/domains/www1.it.kmitl.ac.th/public_html/modules/ctools/includes/cleanstring.inc on line 157.
  • warning: preg_match(): Compilation failed: disallowed Unicode code point (>= 0xd800 && <= 0xdfff) at offset 1811 in /home/wwwit/domains/www1.it.kmitl.ac.th/public_html/modules/ctools/includes/cleanstring.inc on line 157.
Icon 04หลักสูตร วทบ. สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ หลักสูตรใหม่ 2559

 

Download หลักสูตรฉบับเต็มได้ที่ ====>

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2559

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา        สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ    

สาขาวิชา                     วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 

 

หมวดที่1 ข้อมูลทั่วไป

1.      ชื่อหลักสูตร

          ชื่อภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

          ชื่อภาษาอังกฤษ  Bachelor of Science Program in Data Science and Business Analytic

2.      ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)         :  วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ)

            (ภาษาอังกฤษ)      :  Bachelor of Science (Data Science and Business Analytics)

   ชื่อย่อ  (ภาษาไทย)        :         วท.บ. (วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ)  

                 (ภาษาอังกฤษ)      :  B.Sc. (Data Science and Business Analytics)

3.      วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร (ถ้ามี)

 

          หลักสูตรนี้จัดอยู่ในสาขาคอมพิวเตอร์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ โดยอ้างอิงตาม มคอ.1 ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ในด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ

4.      จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

  126 หน่วยกิต

5.    รูปแบบของหลักสูตร

         5.1  รูปแบบ

               หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี                         

       5.2  ประเภทของหลักสูตร

              หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

              หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

              หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

       5.3  ภาษาที่ใช้

              หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

      5.4  การรับเข้าศึกษา

            รับเฉพาะนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

     5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

     เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ

     5.6  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

            ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

 หลักสูตรใหม่      กำหนดเปิดสอนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560

                              ได้พิจารณากลั่นกรองโดยคณะกรรมการสภาวิชาการ ครั้งที่ 8/2559

         เมื่อวันที่ 23 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559

                              ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรจากสภาสถาบัน ในการประชุมครั้งที่ 9/2559

        เมื่อวันพุธที่ 14 เดือน กันยายน พ.ศ. 2559

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในปีการศึกษา 2562

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

       บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เพียงพอในการประกอบอาชีพ และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน สำหรับตำแหน่งงานด้านต่างๆ ได้แก่

(1) นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)

(2) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)

(3) สถาปนิกด้านข้อมูล (Data Architect)

(4) นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst)

(5) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)

(6) ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Specialist)

(7) นักวิเคราะห์ด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Analyst)

(8) นักพัฒนาด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Developer)

(9) นักพัฒนาคลังข้อมูล (Data Warehouse Developer)

(10) ที่ปรึกษาด้านคลังข้อมูล (Data Warehouse Consultant)

(11) ผู้บริหารข้อมูล (Data Administrator)

(12) ผู้ดูแลฐานข้อมูล (Database Administrator)

(13) ผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล (Database Specialist)

(14) นักพัฒนาข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ (Business Insight Data Developer)

9.  ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

ชื่อ-สกุล

(ระบุตำแหน่งทางวิชาการ)

คุณวุฒิการศึกษา (สาขาวิชา),

ปีที่สำเร็จการศึกษา

เลขประจำตัวบัตรประชาชน

1. ผศ.ดร.กิติ์สุชาต พสุภา

(สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ)

- B.Eng.(Electrical Engineering) Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University, 2546

- M.Sc. (Control Systems) University of Sheffield, UK,2547

- Ph.D. (Automatic Control & Systems Engineering) University of Sheffield, UK,2551

-

 

2.  ผศ.ดร.โอฬาร วงศ์วิรัตน์

(สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ)

- บธ.บ.การบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2532

- วศ.บ. (เกียรตินิยม) วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์,2533

- M.S.(Electrical Engineering) New Mexico State University, USA ,2538

- D.Eng.(Electronics) Tokai University, Japan, 2550

-

 

3. ผศ.ดร.กันต์พงษ์ วรรัตน์ปัญญา

(สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ)

- อส.บ.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2535

- วศ.ม.วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2539

- วศ.ด.วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2547

-

 

 

ชื่อ-สกุล

(ระบุตำแหน่งทางวิชาการ)

คุณวุฒิการศึกษา (สาขาวิชา),

ปีที่สำเร็จการศึกษา

เลขประจำตัวบัตรประชาชน

4. ผศ.ดร.กนกวรรณ อัจฉริยะชาญวณิช

- B.Sc. (Second-class Honours)Assumption University,2542

- M.Sc.(Information Management),  Asian Institute of Technology,2544

- M.P.A(International Development),Tsinghua University, China,2554

- Ph.D.(Informatics),The Graduate University for Advanced Studies, Japan,2550

-

 

5.อ.ศรีนวล  นลินทิพยวงศ์

- บธ.บ.การเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2527

- บธ.ม.บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2536

- วท.ม. สถิติประยุกต์ (การจัดการระบบสารสนเทศ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2543

-

 

 

 

10.สถานที่จัดการเรียนการสอน

          ในสถานที่ตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

     11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

      ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า การดำเนินธุรกิจ การดำเนินชีวิตประจำวัน และการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กร ต้องอาศัยข้อมูล เพื่อช่วยให้การดำเนินงานต่าง ๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้องค์กรสามารถแข่งขันได้และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นด้วย หลาย ๆ องค์กรได้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อเข้ามามีส่วนช่วยให้การทำงานทำได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาทิเช่น การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์มีการใช้ข้อมูลของลูกค้าในการประกอบการตัดสินใจในการให้เงินกู้ยืมต่าง ๆ บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์มีการใช้ข้อมูลราคาซื้อขายหลักทรัพย์ในการตัดสินใจในการลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ และบริษัทขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตใช้ข้อมูลการซื้อขายสินค้าของลูกค้ามาใช้เป็นระบบแนะนำสินค้าแบบอัตโนมัติ เป็นต้น องค์กรต่างๆ ได้พยายามใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างหลากหลายเข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล เพื่อนำมาสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างสูงสุด โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีความสนใจในการนำเทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence; BI) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ (Business Analytics) ซึ่งเทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะก็เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งองค์กรมาไว้ที่เดียวกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยเทคนิคทางด้านกลไกการเรียนรู้ของเครื่องจักรนอกเหนือจากวิธีทางสถิติ รวมทั้งการแสดงผลข้อมูลที่สามารถให้ผู้ใช้ข้อมูลค้นหาข้อมูลโดยง่าย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะดังกล่าวส่งผลให้องค์กรสามารถใช้สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลเข้ามาเป็นส่วนช่วยในการทำงานและการตัดสินใจต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันต่อเวลา

       ข้อมูลที่องค์กรต่าง ๆ ได้นำมาใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้มาจากหลากหลายช่องทางและหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) เป็นยุคที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกสิ่งมีความสามารถในการเชื่อมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาทิเช่น คอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน รวมถึงเทคโนโลยีสวมใส่ได้ในรูปแบบอุปกรณ์เครื่องแต่งกาย เช่น นาฬิกาและสายรัดข้อมือ เป็นต้น กล่าวคือข้อมูลนั้นจะมาจากหลายแหล่ง ทำให้ข้อมูลมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีรูปแบบข้อมูลที่หลากหลาย มีขนาดของข้อมูลที่ใหญ่มาก “Big Data”และมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่รวดเร็ว จากการที่ข้อมูลในองค์กรได้มีความความซับซ้อนยิ่งขึ้นดังกล่าว การที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมากที่ซับซ้อนให้ได้ประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์จากหลากหลายแขนงเข้ามาเป็นตัวช่วยในการสกัดสารสนเทศออกจากข้อมูล

       อนึ่ง ยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ฉบับที่ 3 (Thailand ICT Master Plan 2020) ได้ระบุยุทธศาสตร์ในการใช้ ICT เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุกิจและยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนด้าน ICT ทั้งด้านปริมาณและด้านศักยภาพ (ICT professional and “Information-Literate” people)

      จึงเห็นได้ว่าวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ เป็นศาสตร์ที่สำคัญที่จะเป็นส่วนช่วยให้การใช้ประโยชน์ของข้อมูลในปัจจุบันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจ จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมบุคลากรทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ และแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดเอเซียซึ่งจะมีความต้องการ “Data Scientist” จำนวนมากในอนาคต

 

     11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

        ปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจ ต่อสังคม และการใช้ชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ง่ายขึ้น และมีต้นทุนต่ำ จะเห็นได้จากการใช้งานเครือข่ายสังคมหรือแอปพลิเคชันผ่านอุปกรณ์อัจฉริยะ (smart device) ต่าง ๆ ทั้งในเรื่องส่วนตัว ความบันเทิง สังคม และการสื่อสารการตลาด เป็นต้น นอกจากข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายสังคม ยังมีข้อมูลเกิดขึ้นในบริบทต่างๆ มากมายทั้งในการดำเนินงานของเอกชนและภาครัฐ เช่น ข้อมูลธุรกรรมการเงิน ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการท่องเที่ยว และข้อมูลจราจร เป็นต้น ทำให้เกิดข้อมูลปริมาณมากจากพฤติกรรมบุคคลและธุรกรรมทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้ ถ้าสามารถนำมาวิเคราะห์ จะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในด้านคุณภาพชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่รองรับต่อการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้ จึงมีแนวโน้มความต้องการขององค์กรต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรและสังคมไปสู่การดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

        ดังนั้นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีนี้ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง

 

12.ผลกระทบจาก ขอ 11.1 และ 11.2 ตอการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวของกับพันธกิจของสถาบัน

     12.1 การพัฒนาหลักสูตร

      การพัฒนาหลักสูตร ได้พิจารณาถึงผลกระทบจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และการแข่งขันทางธุรกิจ พิจารณาถึงแนวโน้มความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศที่เพิ่มมากขึ้น จากทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของชาติ รวมถึงทิศทางความต้องการและการพัฒนาคนในระดับสากล ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรนี้ ได้รับความร่วมมือด้านข้อมูลความต้องการจากภาครัฐและเอกชน จึงมีวิสัยทัศน์ที่จะผลิตบุคลากรที่มีความชำนาญด้านวิทยการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพที่รู้กว้างและรู้ลึก ที่จะตอบสนองภาคธุรกิจและสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล และสร้างความมั่นใจให้แก่ตัวบัณฑิตเองเมื่อจบออกไปประกอบอาชีพ        

     12.2 ความเกี่ยวของกับพันธกิจของสถาบัน

      จากบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนวิชาการ มีภารกิจ ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อมุ่งพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความสามารถและศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมทั้งความต้องการบุคลากรด้านนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรนี้ให้มีเนื้อหาการเรียนการสอนที่ก้าวหน้า ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยคำนึงถึงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

13. ความสัมพันธ (ถามี) กับหลักสูตรอื่นที่เปดสอนในคณะ/ ภาควิชาอื่นของสถาบัน  (เชน รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อใหบริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือตองเรียนจากคณะ/ ภาควิชาอื่น)

13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น

                       หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

                       หมวดวิชาเลือกเสรี

13.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน

                         ไม่มี

               13.3  การบริหารจัดการ

         รายวิชาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญของสาขาวิชาหรือคณะอื่นประกอบไปด้วยรายวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ กฎหมายและวิชาด้านคณิตศาสตร์บางส่วน ซึ่งการประสานความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนกระทำผ่านกระบวนการตามปกติของสถาบันฯ ในการให้บริการสอนวิชาในหมวดศึกษาทั่วไปจากคณะที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ข้างต้นโดยมีการติดตาม แลกเปลี่ยนข้อมูลคุณภาพการเรียนการสอน และข้อมูลย้อนกลับ เช่น ผลการประเมินการสอนระหว่างคณะกับหน่วยงานที่ให้บริการสอนวิชาเหล่านี้ เพื่อให้รูปแบบการเรียนการสอนและคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของหลักสูตร ในส่วนของรายวิชาในหลักสูตรไม่มีรายวิชาใดที่หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน



หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1.      ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1  ปรัชญา

          ข้อมูลและสารสนเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงานในส่วนงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยทำให้การวางแผน ควบคุม และตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล สามารถนำพาองค์กรและหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวมให้ดีขึ้น การได้มาซึ่งข้อมูลและสารสนเทศดังกล่าว ต้องอาศัยศาสตร์ด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจเข้ามาช่วย เพื่อทำให้สามารถรวมรวบข้อมูลจากฐานข้อมูล(Database) และคลังข้อมูล (Data warehouse) จากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งมีความซับซ้อนและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล (Big data)เพื่อนำมาจัดเตรียมและประมวลผลด้วยเครื่องมือซึ่งใช้กลไกของอัลกอริทึม (Algorithm) ขั้นสูง เพื่อทำให้ได้สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ส่งผลทำให้การดำเนินการ รวมทั้งการตัดสินใจและแก้ปัญหา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

         คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องจัดเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงได้จัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจขึ้น เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีทักษะความชำนาญทั้งในระดับพื้นฐานและในระดับสูง รวมทั้งมีวันัย ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความพร้อมในการทำงาน เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนดังกล่าวได้ในอนาคต

 

1.2  ความสำคัญ

           องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงบทบาทความสำคัญและความจำเป็นของข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถช่วยในการดำเนินงาน รวมทั้งการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว สามารถนำพาองค์กรและหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย จึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งมีทักษะความชำนาญด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจจำนวนมาก ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรและหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในอนาคต

 

       1.3  วัตถุประสงค์

1)       ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดแรงงาน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

2)       ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจและข้อมูลขนาดใหญ่ และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง

3)       ผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจและทักษะเชิงเทคนิคที่สำคัญในการค้นหาสารสนเทศที่มีคุณค่า เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ

4)       ผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

2.      แผนพัฒนาปรับปรุง

    

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์

หลักฐาน/ตัวบ่งชี้

1.    พัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทุก 5 ปี

1.    ติดตามและตรวจสอบข้อกำหนดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ

1. เอกสารปรับปรุงหลักสูตร

2. หลักสูตรผ่านเกณฑ์การประเมินของ สกอ. และ/หรือ CUPTภายใน 4 ปีนับจากวันที่เริ่มเปิดรับนักศึกษา

3. รายงานผลการประเมินหลักสูตรประจำปี

2.    พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของคณะฯ

1.    พัฒนาหลักสูตรให้เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีเนื้อหาและชั่วโมงปฏิบัติ ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น

1.   มติคณะกรรมการประจำส่วนงานวิชาการคณะฯ เรื่องการกำหนดอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของคณะฯ

2.   เอกสารปรับปรุงหลักสูตร

3.   รายงานผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตของสถานประกอบการในระดับดีเป็นอย่างต่ำ



 

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์

หลักฐาน/ตัวบ่งชี้

3.    ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษา

1.    สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและผู้ประกอบการเพื่อเชิญบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์จากการทำงานงานจริง ให้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของอาจารย์พิเศษและวิทยากรรับเชิญ รวมทั้งเพื่อช่วยกำหนดโจทย์ปัญหา สำหรับใช้เป็นกรณีศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นหัวข้อในวิชาโครงงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเพื่อการแก้ปัญหาและใช้งานจริง

1.   ประกาศ หรือบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคเอกชนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

2.   สัดส่วนจำนวนครั้งของการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในการถ่ายทอดความรู้ต่อจำนวนรายวิชาในหลักสูตร

3.   สัดส่วนจำนวนหัวข้อและผลงานในวิชาโครงงานที่ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์ปัญหา

4.    ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานในต่างประเทศในการผลิตบัณฑิต

1.    สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานในต่างประเทศ เพื่อทำให้นักศึกษามีโอกาสในการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษในต่างประเทศ โดยจัดหาทุนและสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อทำให้เกิดการแบ่งปันเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกัน

1.   ประกาศ หรือบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษา รวมทั้งการให้ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ

2.   สัดส่วนจำนวนนักศึกษาที่มีการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานในต่างประเทศ

3.   สัดส่วนจำนวนวิชาในหลักสูตรที่มีการแบ่งปันเนื้อหาและมีการเรียนการสอนร่วมกัน

3.      ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1)   บัณฑิตมีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดแรงงาน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

2)   บัณฑิตมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจและข้อมูลขนาดใหญ่ และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง

3)   บัณฑิตมีความเข้าใจและทักษะเชิงเทคนิคที่สำคัญในการค้นหาสารสนเทศที่มีคุณค่า เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ

4)   บัณฑิตมีความใฝ่รู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

มวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1. ระบบการจัดการศึกษา

    1.1 ระบบ

          ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่ง 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อน ให้กำหนดระยะเวลาโดยสัดส่วนเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ

          ข้อกำหนดต่าง ๆ ไปเป็นตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2557(ภาคผนวก ก)

   1.2 การจัดการศึกษาภาคการศึกษาพิเศษ (ภาคฤดูร้อน)

  มีภาคฤดูร้อน (ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำส่วนงานวิชาการเป็นกรณีๆ ไป)

   1.3 การเทียบเคียงหนวยกิตในระบบทวิภาค

 ไม่มี

2. การดำเนินการหลักสูตร

2.1. วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

               วัน –เวลาราชการปกติ

      ภาคการศึกษาที่ 1   เดือนสิงหาคม – เดือนพฤศจิกายน

      ภาคการศึกษาที่ 2   เดือนมกราคม – เดือนเมษายน

      ภาคฤดูร้อน          เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม

     2.2คุณสมบัติของผูเขาศึกษา

       สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า  โดยผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและประกาศการคัดเลือกของสถาบันฯ

    2.3 ปญหาของนักศึกษาแรกเขา

          - ความรู้ด้านคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ

          - การปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา

          - นักศึกษาไม่ประสงค์จะเรียนในสาขาวิชาที่สอบคัดเลือกได้

     2.4  กลยุทธในการดําเนินการเพื่อแกไขปญหา / ขอจํากัดของนักศึกษาในขอ 2.3

          - จัดสอนเสริมเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนการเรียน

         - จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แนะนำการวางเป้าหมายชีวิต เทคนิคการเรียนในสถาบันและการแบ่งเวลา

         - จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแล ตักเตือน ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา

            และให้เน้นย้ำในกรณีที่นักศึกษามีปัญหาตามข้างต้นเป็นกรณีพิเศษ

         - จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์ของนักศึกษาและการดูแลนักศึกษา ได้แก่           

            วันแรกพบระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ วันพบผู้ปกครอง การติดตามการเรียนของนักศึกษาชั้น

            ปีที่ 1 จากอาจารย์ผู้สอน และจัดกิจกรรมสอนเสริมถ้าจำเป็น

        - จัดให้สามารถโอนย้ายสาขาวิชาได้โดยเป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2557 (ภาคผนวก ก)

     2.5 แผนการรับนักศึกษาและผูสําเร็จการศึกษาในระยะ 5 ป

จำนวนนักศึกษา

ปีการศึกษา

2560

2561

2562

2563

2564

ชั้นปีที่ 1

60

60

60

60

120

ชั้นปีที่ 2

 

60

60

60

60

ชั้นปีที่ 3

 

 

60

60

60

ชั้นปีที่ 4

 

 

 

60

60

รวม

60

120

180

240

300

คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา

-

-

-

60

60

 

     2.6 งบประมาณตามแผน

ปีงบประมาณ

2560

2561

2562

2563

2564

งบบุคลากร

2,592,400

5,203,000

7,608,700

10,009,600

10,477,600

งบลงทุน

1,269,200

2,202,000

2,946,900

3,401,500

3,570,200

งบดำเนินการ

2,907,500

3,881,200

4,766,400

5,566,900

5,621,900

รวม

6,769,100

11,286,200

15,322,000

18,978,000

19,669,700

ประมาณค่าใช้จ่ายต่อหัวในการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรนี้ เฉลี่ย   55,200  บาท/คน/ ปี

 

   2.7 ระบบการศึกษา

         แบบชั้นเรียน

   2.8 การเทียบโอนหนวยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา (ถามี)

          เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษระดับ         ปริญญาตรีปริญญาตรี พ.ศ. 2557 (ภาคผนวก ก) และประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่องการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา (ภาคผนวก ง)

3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

 

 

 

3.1หลักสูตร

     3.1.1  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                              126     หน่วยกิต

     3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

 

แผนการศึกษาที่ไม่เข้าโครงการสหกิจศึกษา

แผนการศึกษาที่เข้าโครงการสหกิจศึกษา

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30  หน่วยกิต

30  หน่วยกิต

กลุ่มวิชาภาษา

         12  หน่วยกิต

        12หน่วยกิต

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 

      6  หน่วยกิต

  6  หน่วยกิต

กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 

6  หน่วยกิต

6  หน่วยกิต

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

          6  หน่วยกิต

         6  หน่วยกิต

 



 

แผนการศึกษาที่ไม่เข้าโครงการสหกิจศึกษา

แผนการศึกษาที่เข้าโครงการสหกิจศึกษา

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

90  หน่วยกิต

90  หน่วยกิต

1) กลุ่มวิชาแกน

12  หน่วยกิต

12  หน่วยกิต

-  คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

  9    หน่วยกิต

9  หน่วยกิต

-  พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ

     3    หน่วยกิต

3  หน่วยกิต

2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน

69 หน่วยกิต

69   หน่วยกิต

-  กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ

  15  หน่วยกิต

15  หน่วยกิต

-  กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์        

           33  หน่วยกิต

33  หน่วยกิต

-  กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์         

15  หน่วยกิต

15  หน่วยกิต

-  กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ        

      6   หน่วยกิต

    6  หน่วยกิต

3) กลุ่มวิชาเลือก

6   หน่วยกิต

3  หน่วยกิต

4) กลุ่มวิชาการศึกษาทางเลือก

       3  หน่วยกิต

      6 หน่วยกิต*

-  การฝึกงานในประเทศ

 

 

-  สหกิจศึกษา

 

 

-  การศึกษาหรือการปฏิบัติการฝึกงานต่างประเทศ

 

 

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี   

6  หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

 

*กลุ่มสหกิจศึกษา

นักศึกษาอาจเลือกลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาสหกิจศึกษาได้ 6หน่วยกิต กำหนดระยะเวลาในการทำสหกิจศึกษาเป็นเวลาอย่างน้อย 16 สัปดาห์หรือ 1 ภาคการศึกษาโดยนำมาทดแทนในหมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาเลือกรหัส 060261xxวิชาเลือกทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 2 (ELECTIVE COURSE  IN DATA SCIENCE AND BUSINESS ANALYTICS 2) และ 06026129 ฝึกวิชาชีพวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ รวมจำนวน 6 หน่วยกิต ตามความเห็นชอบของคณะ ทั้งนี้ในกลุ่มสหกิจศึกษา นักศึกษาสามารถเลือกสหกิจศึกษาหรือสหกิจศึกษาต่างประเทศได้

 

กรณีนักศึกษาโครงการการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี แบบก้าวหน้า

เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้า พ.ศ. 2553 (ภาคผนวก ข) ข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2554 (ภาคผนวก ค)  และประกาศของส่วนงานวิชาการนั้นๆ

 

3.1.3 รายวิชา

          ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                 30               หน่วยกิต         

1)      กลุ่มภาษาอังกฤษ                                           12                หน่วยกิต

รหัสวิชา                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

90201001

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1                                         

FOUNDATION ENGLISH 1

3(3-0-6)

90201002

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2                                         

FOUNDATION ENGLISH 2

3(3-0-6)

90201012

การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษอังกฤษ

DEVELOPMENT OF READING AND WRITING SKILLS IN ENGLISH

3(3-0-6)

90201026

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร                                               3(3-0-6)

ENGLISH FOR COMMUNICATION

       

 

2)      กลุ่มวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์                           6                  หน่วยกิต

รหัสวิชา                                      หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

90101007

คณิตเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น                                      

INTRODUCTION TO MATHEMATICAL ECONOMICS

3(3-0-6)

90101xxx

ให้นักศึกษาเลือกเรียนตามรายวิชาที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเปิดสอน (ภาคผนวก จ) อีก 1 รายวิชา
 

       

3)      กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                       6                  หน่วยกิต

รหัสวิชา                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

90304004

การเขียนรายงาน                                                          3(3-0-6)

REPORT WRITING

90101xxx

ให้นักศึกษาเลือกเรียนตามรายวิชาที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเปิดสอน (ภาคผนวก จ) อีก 1 รายวิชา
 

4)      กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                        6                  หน่วยกิต

รหัสวิชา                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

90401012

ความรู้เบื้องต้นทางการตลาด                                            3(3-0-6)

INTRODUCTION TO MARKETING

90401013

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ                                                3(3-0-6)

GENERAL BUSINESS

                             

 

 

 

          ข.   หมวดวิชาเฉพาะ                                                      90            หน่วยกิต

 

               1) กลุ่มวิชาแกน                                                     12            หน่วยกิต

รหัสวิชา                                                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026100

พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information  Technology  Fundamentals

3(2-2-5)

06026101

คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

Mathematics  for  Information  Technology 

3(3-0-6)

 

06026102

คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง

Discrete  Mathematics 

3(3-0-6)

 

06026103

ความน่าจะเป็นและสถิติ

Probability  and  Statistics 

 

3(3-0-6)

       

               2)  กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                                              69             หน่วยกิต

                    -  กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ                                                 15          หน่วยกิต

                                              รหัสวิชา                                                                               หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026106

แนวคิดระบบฐานข้อมูล

Database  System  Concepts 

3(2-2-5)

06026108

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

Management  Information  Systems

 

3(3-0-6)

06026110 

บัญชีการเงิน

Financial Accounting 

3(3-0-6)

06026114 

กระบวนการธุรกิจและการวางแผนทรัพยากรองค์กร

Business  Processes  and  Enterprise Resource  Planning

3(2-2-5)

06026119

ความมั่นคงของระบบสารสนเทศและกฏหมายไอที

Information  Technology  Security  and IT  Laws 

3(3-0-6)

 

       

 

-  กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์                                                                   33         หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026115

อัจฉริยะทางธุรกิจเบื้องต้น

Introduction  to  Business  Intelligence

3(2-2-5)

 

 

06026116

 

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ

Business  Data  Analytics

 

3(2-2-5)

06026117

พื้นฐานวิทยาการข้อมูล

Fundamentals  of  Data  Science

3(3-0-6)

06026120

การสร้างคลังข้อมูล

Data  Warehousing

3(2-2-5)

06026121

การทำเหมืองข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

Data  Mining  and  Big  Data  Analytics

3(2-2-5)

06026122

วิทยาการข้อมูลสำหรับธุรกิจ

3(2-2-5)

 

DATA SCIENCE FOR BUSINESS

 

06026124

การแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพ

Data  Visualization

3(2-2-5)

06026125

การเรียนรู้ของเครื่องจักร

Machine  Learning

3(2-2-5)

06026126

การบริหารเชิงกลยุทธ์และสมรรถะของธุรกิจ

Business  STRATEGIC  AND  Performance  Management

3(3-0-6)

06026127

โครงงานวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ1

Project  in  Data  Science  and  Business  Analytics 1

3(0-9-0)

06026128

โครงงานวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 2

Project  in  Data  Science  and  Business  Analytics 2

 

3(0-9-0)

       

 

 

 

- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ                                                                   6          หน่วยกิต

รหัสวิชา                                                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026105

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

Introduction to  Computer  Networks

3(3-0-6)

06026107

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม

Data  Structures  and  Algorithms

3(3-0-6)

       

 

-กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์                                                         15          หน่วยกิต

รหัสวิชา                                                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026104

การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer  Programming

3(2-2-5)

 

06026109

เทคโนโลยีเว็บ

Web  TechnologY

3(2-2-5)

06026111

ฐานข้อมูลแบบโนเอสคิวแอล

1(0-2-1)

 

practICAL NoSQL DATABASE

 

06026112

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Business  System  Analysis  and  Design

3(3-0-6)

06026113

การสร้างโปรแกรมทางสถิติ

Statistical  Programming

1(0-2-1)

06026118

การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information  Technology  Project  Management

3(3-0-6)

06026123

สัมมนาทางด้านทักษะการสื่อสารในวิชาชีพ

Seminar  on  Professional  Communication  Skills

1(1-0-2)

       

 

3)  กลุ่มวิชาเลือก                                                                   6        หน่วยกิต

รหัสวิชา                                                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026132

การจัดการการปฏิบัติการ

Operations  Management

3(3-0-6)

06026133

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

Decision  Support  Systems

3(3-0-6)

06026134

ปัญญาประดิษฐ์
Artificial  Intelligence

 

3(3-0-6)

06026135

การประมวลผลภาษาธรรมชาติเบื้องต้น

Introduction  to  Natural  Language Processing    

3(3-0-6)

06026136

ระบบอัจฉริยะ

Intelligent  Systems

3(3-0-6)

06026137

เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล

Storage  Technology

3(3-0-6)

06026138

การค้นคืนสารสนเทศ

Information  Retrieval

3(3-0-6)

06026139

การประมวลผลภาพ

Image  Processing

3(3-0-6)

06026140

การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์

Computer  Simulation  and  Modelling

3(3-0-6)

06026141

เทคโนโลยีเสียงและภาพดิจิทัล

Digital  Sound  and  Imaging  Technology

3(3-0-6)

06026142

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software  Engineering

3(3-0-6)

06026143

วิศวกรรมความต้องการ

Requirement  Engineering

3(3-0-6)

 

06026144

 

อินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง

Internet  of  Things

 

3(3-0-6)

06026145

ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง

Advanced  Database  Systems

3(3-0-6)

06026146

การดูแลและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูล

Database  System  Maintenance  and  Administration

3(2-2-5)

06026147

แบบจำลองธุรกิจและการตลาด  

Business  Model  and  Marketing                                                

3(3-0-6)

06026148

การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์

Supply  Chain  Management  and  Logistics

3(3-0-6)

06026149

วิศวกรรมและการจัดการความรู้

Knowledge  Engineering  and  Management

3(3-0-6)

06026150

การบริหารระบบลูกค้าสัมพันธ์

Customer  Relationship  Management

3(3-0-6)

06026151

การตรวจสอบระบบสารสนเทศ

Information  Technology  Audit

3(3-0-6)

06026152

การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง

Innovation  and  Change  Management

 

3(3-0-6)

06026153

วิทยาการและการจัดการบริการ

Service  Science  and  Management

3(3-0-6)

06026154

การบริหารจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

E-Commerce  Management

3(3-0-6)

06026155

เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ

Economics  of  Information  Technology

3(3-0-6)

06026156

เทคโนโลยีสุขภาพสนเทศศาสตร์เบื้องต้น

Introduction  to Health  Analytics

3(2-2-5)

06026157

การเข้าถึงและจัดการข้อมูลทางด้านคลินิก

Clinical  Data  Acquisition  and  Management

3(2-2-5)

06026158

สถาบันและตลาดด้านการเงิน

3(3-0-6)

 

FINANCIAL INSTITUTIONS AND MARKETS

 

06026159

วิทยาการข้อมูลภาคปฏิบัติ

3(3-0-6)

 

PRACTICAL DATA SCIENCE

 

06026160

กฎหมายทางธุรกิจและภาษี

3(3-0-6)

 

BUSINESS LAWS AND TAXATION

 

06026161

การทำการตลาดดิจิทัล

3(3-0-6)

 

DIGITAL MARKETING

 

06026162

การวิเคราะห์ทางสถิติของตัวแปรพหุ

3(3-0-6)

 

MULTIVARIATE  STATISTICAL  ANALYSIS

 

06026163

หัวข้อพิเศษวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 1

Special Topics in Data Science and Business Analytics 1

3(3-0-6)

06026164

หัวข้อพิเศษวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 2

Special Topics in Data Science and Business Analytics 2

3(3-0-6)

06026165

ปฏิบัติการพิเศษวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 1

Special Workshop in Data Science and Business Analytics 1

3(2-2-5)

06026166

ปฏิบัติการพิเศษวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 2

Special Workshop in Data Science and Business Analytics 2

 

3(2-2-5)

       

               4) กลุ่มวิชาการศึกษาทางเลือก

               สำหรับแผนที่ไม่เข้าร่วมโครงการสหกิจ 3 หน่วยกิต และสำหรับแผนสหกิจ  6 หน่วยกิต                                  

รหัสวิชา                                                                                หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ชื่อวิชา

หน่วยกิต(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026129

ฝึกวิชาชีพทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

Data Science anD Business Analytics Professional Practices

3(0-35-0)

06026130

สหกิจศึกษาทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

Cooperative Educationin Data science and business analytics

6(0-35-0)

06026131

สหกิจศึกษาต่างประเทศทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

OVERSEA Cooperative Educationin Data science and business analytics

6(0-35-0)

       

 

                   ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี

               นักศึกษาสามารถเลือกเรียนในรายวิชาที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวนไม่น้อยกว่า  6  หน่วยกิต

                   หมายเหตุนักศึกษาต้องผ่านฝึกวิชาชีพวิทยาศาสตรข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจโดยให้คิดค่าระดับคะแนนเป็น S/U และแสดงผลการศึกษา เป็น พอใจ/ไม่พอใจ

 

ความหมายของรหัสประจำรายวิชา 

 

      รหัสวิชาที่ใช้ กำหนดให้เป็นตัวเลขและตัวอักษร 8หลัก

รหัสตัวที่ 1,2

ได้แก่เลข  06

หมายถึง     

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

รหัสตัวที่ 3,4      

ได้แก่เลข  02

หมายถึง    

สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

รหัสตัวที่ 5

ได้แก่เลข  6                

หมายถึง    

ระดับปริญญาตรี

รหัสตัวที่ 6,7,8

 

หมายถึง

ลำดับที่ของรายวิชา

 

 

3.1.4.  แผนการศึกษา

          3.1.4.1แผนการศึกษาที่ไม่เข้าโครงการสหกิจศึกษา

 

ปีที่1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026100

พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information  Technology  Fundamentals

3(2-2-5)

06026104

การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer  Programming

3(2-2-5)

90101007

คณิตเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

INTRODUCTION TO MATHEMATICAL ECONOMICS

3(3-0-6)

90201001

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน1                                                                                                                                      

FOUNDATION ENGLISH 1

3(3-0-6)

90401013

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

General  Business

3(3-0-6)

90101xxx

วิชาเลือกทางวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 1

ELECTIVE COURSE IN SCIENTIFIC AND MATHEMATICS 1

3(3-0-6)

รวม

18

 

ปีที่1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026101

คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

Mathematics for Information Technology 

3(3-0-6)

06026105

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

Introduction to ComputerNetworks

3(3-0-6)

06026106

แนวคิดระบบฐานข้อมูล

Database  System  Concepts 

3(2-2-5)

06026107

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม

Data Structures and Algorithms

3(3-0-6)

90201002

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2

FOUNDATION ENGLISH 2

3(3-0-6)

90401012

ความรู้เบื้องต้นทางการตลาด

INTRODUCTION TO MARKETING

3(3-0-6)

รวม

18

 

ปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026102

คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง

Discrete Mathematics 

3(3-0-6)

 

06026103

ความน่าจะเป็นและสถิติ

Probability  and  Statistics 

3(3-0-6)

06026108

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

Management Information Systems

3(3-0-6)

06026109

เทคโนโลยีเว็บ

Web TechnologY

3(2-2-5)

06026110

บัญชีการเงิน

Financial Accounting 

3(3-0-6)

06026111

ฐานข้อมูลแบบโนเอสคิวแอล

PRACTICAL  NoSQLDATABASE

1(0-2-1)

90201012

การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษDEVELOPMENT OF READING AND WRITING SKILLS IN ENGLISH

3(3-0-6)

รวม

19

ปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026112

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Business  INFORMATION System  Analysis  and  Design

3(3-0-6)

06026113

การสร้างโปรแกรมทางสถิติ

Statistical Programming

1(0-2-1)

06026114

กระบวนการธุรกิจและการวางแผนทรัพยากรองค์กร

Business  Processes  and  Enterprise  Resource Planning

3(2-2-5)

06026115

อัจฉริยะทางธุรกิจเบื้องต้น

Introduction  to  Business  Intelligence

3(2-2-5)

06026116

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ

Business Data Analytics

3(2-2-5)

06026117

พื้นฐานวิทยาการข้อมูล

FUNDAMENTALS OF  DATA   SCIENCE

3(3-0-6)

90201026

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ENGLISH FOR COMMUNICATION

3(3-0-6)

รวม

19

ปีที่3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026118

การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Project Management

3(3-0-6)

06026119

ความมั่นคงของระบบสารสนเทศและกฎหมายไอที

Information Technology Security and  IT  Laws 

3(3-0-6)

06026120

การสร้างคลังข้อมูล

Data Warehousing

3(2-2-5)

06026121

การทำเหมืองข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

Data Mining and Big Data Analytics

3(2-2-5)

06026122

วิทยาการข้อมูลสำหรับธุรกิจ

DATA  SCIENCE  FOR  BUSINESS

3(2-2-5)

90304004

การเขียนรายงาน

REPORT WRITING

3(3-0-6)

รวม

18

ปีที่3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026123

สัมมนาทางด้านทักษะการสื่อสารในวิชาชีพ

Seminar on Professional Communication Skills

1(1-0-2)

06026124

การแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพ

Data Visualization

3(2-2-5)

06026125

การเรียนรู้ของเครื่องจักร

Machine Learning

3(2-2-5)

06026126

การบริหารเชิงกลยุทธ์และสมรรถะของธุรกิจ

Business STRATEGIC AND Performance Management

3(3-0-6)

06026127

โครงงานวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ1

Project in Data Science and Business Analytics  1

 

3(0-9-0)

060261xx

วิชาเลือกทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 1

ELECTIVE COURSE in Data Science and Business Analytics 1

3(3-0-6)หรือ 3(2-2-5)

รวม

16

 

ปีที่3 ภาคการศึกษาที่ 3

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026129

ฝึกวิชาชีพวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

Data Science anD Business Analytics Professional Practices

3(0-35-0)

รวม

3

 

ปีที่4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026128

โครงงานวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ2

Project in Data Science and Business Analytics 2

3(0-9-0)

060261xx

วิชาเลือกทางพิเศษวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 2

eLECTIVE COURSEin Data Science and Business Analytics 2

3(3-0-6)หรือ 3(2-2-5)

90xxxxxx

วิชาเลือกเสรี 1

Free Elective Course 1

3(3-0-6)

รวม

9

 

ปีที่4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

xxxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 2

Free Elective Course 2

3(3-0-6)

90xxxxxx

วิชาเลือกทางมนุษยศาสตร์ 2

ELECTIVE COURSE IN HUMANITY 2

3(3-0-6)

รวม

6

 

                       รวมตลอดหลักสูตร                            126            หน่วยกิต   



3.1.4.2 แผนการศึกษาโครงการสหกิจศึกษา

ปีที่1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026100

พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information  Technology  Fundamentals

3(2-2-5)

06026104

การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer  Programming

3(2-2-5)

90101007

คณิตเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

INTRODUCTION TO MATHEMATICAL ECONOMICS

3(3-0-6)

90201001

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน1                                                                                                                                                

FOUNDATION ENGLISH 1

3(3-0-6)

90401013

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

General  Business

3(3-0-6)

90101xxx

วิชาเลือกทางวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 2

ELECTIVE COURSE IN SCIENTIFIC AND MATHEMATICS 2

3(3-0-6)

รวม

18

 

ปีที่1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026101

คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

Mathematics for Information Technology 

3(3-0-6)

06026105

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

Introduction to ComputerNetworks

3(3-0-6)

06026106

แนวคิดระบบฐานข้อมูล

Database  System  Concepts 

3(2-2-5)

06026107

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม

Data Structures and Algorithms

3(3-0-6)

90201002

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2

FOUNDATION ENGLISH 2

3(3-0-6)

90401012

ความรู้เบื้องต้นทางการตลาด

INTRODUCTION TO MARKETING

3(3-0-6)

รวม

18

 

ปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026102

คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง

Discrete  Mathematics 

3(3-0-6)

 

06026103

ความน่าจะเป็นและสถิติ

Probability  and  Statistics 

3(3-0-6)

06026108

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

Management  Information Systems

3(3-0-6)

06026109

เทคโนโลยีเว็บ

Web  TechnologY

3(2-2-5)

06026110

บัญชีการเงิน

Financial  Accounting 

3(3-0-6)

06026111

ฐานข้อมูลแบบโนเอสคิวแอล

PRACTICAL  NoSQLDATABASE

1(0-2-1)

90201012

การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษDEVELOPMENT OF READING AND WRITING SKILLS IN ENGLISH

3(3-0-6)

รวม

19

ปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026112

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Business  INFORMATION System  Analysis  and  Design

3(3-0-6)

06026113

การสร้างโปรแกรมทางสถิติ

Statistical Programming

1(0-2-1)

06026114

กระบวนการธุรกิจและการวางแผนทรัพยากรองค์กร

Business  Processes  and  Enterprise  Resource Planning

3(2-2-5)

06026115

อัจฉริยะทางธุรกิจเบื้องต้น

Introduction  to  Business  Intelligence

3(2-2-5)

06026116

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ

Business Data Analytics

3(2-2-5)

06026117

พื้นฐานวิทยาการข้อมูล

FUNDAMENTALS  OF  DATA   SCIENCE

3(3-0-6)

90201026

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ENGLISH FOR COMMUNICATION

3(3-0-6)

รวม

19

 

ปีที่3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026118

การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Project Management

3(3-0-6)

06026119

ความมั่นคงของระบบสารสนเทศและกฎหมายไอที

Information Technology Security and  IT  Laws 

3(3-0-6)

06026120

การสร้างคลังข้อมูล

Data Warehousing

3(2-2-5)

06026121

การทำเหมืองข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

Data Mining and Big Data Analytics

3(2-2-5)

06026122

วิทยาการข้อมูลสำหรับธุรกิจ

DATA  SCIENCE  FOR  BUSINESS

3(2-2-5)

90304004

การเขียนรายงาน

REPORT WRITING

3(3-0-6)

รวม

18

 

ปีที่3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026123

สัมมนาทางด้านทักษะการสื่อสารในวิชาชีพ

Seminar on Professional Communication Skills

1(1-0-2)

06026124

การแสดงข้อมูลด้วยแผนภาพ

Data Visualization

3(2-2-5)

06026125

การเรียนรู้ของเครื่องจักร

Machine Learning

3(2-2-5)

06026126

การบริหารเชิงกลยุทธ์และสมรรถะของธุรกิจ

Business STRATEGIC AND Performance Management

3(3-0-6)

06026127

โครงงานวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ1

Project in Data Science and Business Analytics  1

3(0-9-0)

060261xx

วิชาเลือกทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 1

ELECTIVE COURSE in Data Science and Business Analytics 1

3(3-0-6)หรือ 3(2-2-5)

รวม

16

 

ปีที่4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026128

โครงงานวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ2

Project in Data Science and Business Analytics 2

3(0-9-0)

Xxxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 1

Free Elective Course 1

3(3-0-6)

Xxxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 2

Free Elective Course 2

3(3-0-6)

90xxxxxx

วิชาเลือกทางมนุษยศาสตร์ 2

ELECTIVE COURSE IN HUMANITY 2

3(3-0-6)

รวม

12


ปีที่4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

06026130

 

 

06026131

 

 

 

สหกิจศึกษาทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

Cooperative Education in Data Science  and Business Analyticsหรือ

สหกิจศึกษาต่างประเทศทางวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

Cooperative Education in Data Science  and Business Analytics

6(0-35-0)

รวม

6

 

                       รวมตลอดหลักสูตร                            126            หน่วยกิต                             

          3.1.5   คำอธิบายรายวิชา

 คำอธิบายรายวิชา(ภาคผนวก ฉ)

 

3.2 ชื่อ สกุล เลขประจําตัวบัตรประชาชน ตําแหนงและคุณวุฒิของอาจารย

     3.2.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

 

ชื่อ-นามสกุล

คุณวุฒิ /สาขาวิชา/สถานศึกษา/

 ปีที่สำเร็จการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

1. ผศ.ดร.กิติ์สุชาต พสุภา

(สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ)

- B.Eng.(Electrical Engineering) Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University, 2546

- M.Sc. (Control Systems) University of Sheffield, UK,2547

- Ph.D. (Automatic Control & Systems Engineering) University of Sheffield, UK,2551

งานวิจัย:

(1) Machine Learning,

(2) Artificial Intelligence,

(3) Pattern Recognition

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Artificial Intelligence,

(2) Machine Learning,

(3) Information Technology Fundamentals,

(4) Computer Programming

2. ผศ.ดร.โอฬาร วงศ์วิรัตน์

(สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ)

- บธ.บ.การบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2532

- วศ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์(เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์,2533

- M.S.(Electrical Engineering) New Mexico State University, USA ,2538

- D.Eng.(Electronics) Tokai University, Japan, 2550

งานวิจัย:

(1) Embedded Systems,

(2) Communication Networks,

(3) Distributed Virtual Environments

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Management Information Systems,

(2) Business Fundamentals for Information Technology,

(3) Decision Support Systems,

(4) Wireless Network Technology, (5) Wireless Communications and Networks,

(6) Mobile Communications Technology,

(7) Fundamental of Embedded Systems

3. ผศ.ดร.กันต์พงษ์ วรรัตน์ปัญญา

(สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ)

- อส.บ.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2535

- วศ.ม.วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2539

- วศ.ด.วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2547

งานวิจัย:

(1) Data Compression,

(2) Image Processing,

(3) Stereoscopic Imaging Technology,

(4) Information Retrieval

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Image Processing,

(2) Machine Learning,

(3) Graduate Research Seminar,

(4) Data Compression Technology, (5) Pattern Recognition

4.ผศ.ดร.กนกวรรณ อัจฉริยะชาญวณิช

- B.Sc. (Second-class Honours)Assumption University,2542

- M.Sc.(Information Management),  Asian Institute of Technology,2544

- M.P.A(International Development),Tsinghua University, China,2554

- Ph.D.(Informatics),The Graduate University for Advanced Studies, Japan,2550

 

งานวิจัย:

(1) E-Business Management,

(2) Information Technology Adoption,

(3) Information Management,

(4) Technology Management,

(5) Consumer Behavior in the Digital Market

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) E-Commerce Fundamentals and Development,

(2) E-Business Technology and Development,

(3) Management Information Systems,

(4) Database Systems Concepts (Practical Lab),

(5) Information Systems Development,

(6) Introduction To Enterprise Resource Planning

5. อ.ศรีนวล นลินทิพยวงศ์

- บธ.บ.การเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2527

- บธ.ม.บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2536

- วท.ม. สถิติประยุกต์ (การจัดการระบบสารสนเทศ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2543

งานวิจัย:

(1) Information Technology Management,

(2) Knowledge Management,

(3) Strategic Information Systems,

(4) End-User Computing  Satisfaction

(5) Tech Startup

ตำราหรือหนังสือ:

การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์การลงทุน, เอกสารการสอนชุดวิชาคอมพิวเตอร์กับการบัญชีบริหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2545)

ภาระงานสอน:

(1) Database System Concepts,

(2) Management Information Systems,

(3) Economics of Information Technology,

(4) Information Technology Project Management,

(5) Accounting Information System (6) Introduction to Enterprise Resource Planning

 

          3.2.2 อาจารยประจํา

ชื่อ-นามสกุล

คุณวุฒิ /สาขาวิชา/สถานศึกษา/

ปีที่สำเร็จการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

1. รศ.ดร.นพพร โชติกกำธร

 

- วศ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์(เกียรตินิยม)  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2533

- Ph.D. (Electrical and Electronic Engineering)  Imperial College, UK,  2539

 

 

 

 

งานวิจัย:

(1) Multimedia Processing and Security,

(2) Human Computer Interaction,

(3) Virtual and Mixed Reality

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Data Communications and Network Technologies,

(2) Human Interface Design,

(3) Computer Graphics and Animations,

(4) Interactive 3D Computer Graphics,

(5) Information Literacy and Technical Writing

2. รศ.ดร.จันทร์บูรณ์ สถิตวิริยวงศ์

- วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2529

- M.Sc. (Data Telecommunications and Networks)  University of Salford, UK, 2536

- Ph.D. (Electronic and Electrical Engineering) University of Salford, UK 2539

 

งานวิจัย:

(1) Computer Network,

(2) Computer and Network Security,

(3) Multimedia Networking,

(4) Performance Evaluation,

(5) Simulation Modeling

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Foundations of Information Technology,

(2) Network and System Security,

(3) Performance Evaluation of Computer Systems and Networks,

(4) Information Technology Center Management 

3. รศ.ดร.วรพจน์ กรีสุระเดช

- วศ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (เกียรตินิยม)  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2532

- M.S.E.E. (Electrical Engineering) Texas Tech University, USA,2536

- Ph.D. (Electrical Engineering) Texas Tech University, USA,2539

งานวิจัย:

(1) Fuzzy System,

(2) Neural Networks,

(3) Data Mining,

(4) Control Systems

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Data Mining,

(2) Advanced Data Mining,

(3) Introduction to Big Data Analytics,

(4) Introduction to Business Intelligence,

(5) Advanced Topics in Association Rule Discovery and Applications

4. รศ.ดร.อาริต ธรรมโน

- วศ.บ.วิศวกรรมระบบควบคุม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2534

- M.S. E.E. (Electrical Engineering) University of Missouri, Columbia, USA, 2535     

- Ph.D. (Engineering Management) University of Missouri, Rolla, USA, 2538

 

 

งานวิจัย:

(1) Artificial Neural Network & Applications,

(2) Fuzzy Logic System,

(3) Evolutionary Algorithm,

(4) Data Mining,

(5) Control Systems,

(6) Forecasting,

(7) Process and System Modeling,

(8) Person Identification,

(9) Machine Learning,

(10) Artificial Intelligence,

(11) Pattern Recognition

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Business Systems and Management,

(2) Project Management,

(3) Artificial Intelligence,

(4) Industrial Operations,

(5) Operations Management,

(6) Computational Intelligence in Manufacturing,

(7) Multimedia and Intelligent Systems,

(8) Bio-Inspired Computational Intelligence

5. รศ.ดร.โชติพัชร์ ภรณวลัย

- วศ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์(เกียรตินิยม)  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2535

- M.Sc. (Information Sciences) Tohoku University, Japan, 2538

- Ph.D. (Information Sciences) Tohoku University, Japan, 2541

งานวิจัย:

(1) Computer Networks and Data Communication,

(2) Multimedia Networking,

(3) Wireless Networks and Mobile Communication,

(4) Artificial Intelligence

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Computer Networks,

(2) Network Administration, Design, and Management

6. รศ.ดร.พรฤดี เนติโสภากุล

- วท.บ. สถิติ (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529

- M.Sc.(Computer Science) University of Southern California, USA 2536

- M.Sc.(Computer Information) University of Delaware, USA, 2541

- Ph.D.(Computer Information Science) Case Western Reserve University, USA, 2545

งานวิจัย:

(1) Natural Language Processing,

(2) Natural Language Generation,

(3) Case-Based Reasoning,

(4) Model-Based System and Simulation,

(5) Machine Translation,

(6) Software Engineering,

(7) Software Testing Techniques,

(8) Object Graphs and Object Models,

(9) Web-Based Model and Metrics,

(10) Web Mining,

(11) Knowledge Engineering,

(12) Knowledge Discovery from Database,

(13) Knowledge Representation and Inference Engine,

(14) Knowledge Based Systems,

(15) Artificial Intelligence Techniques and Applications

ตำราหรือหนังสือ: วิศวกรรมซอฟต์แวร์, เทคโนโลยีการจัดการความรู้

ภาระงานสอน:

(1) Information Systems Development,

(2) Knowledge Management Technology,

(3) Natural Language Processing,

(4) Software Engineering,

(5) Software Testing,

(6) Software Metrics,

(7) Research Methodology and Statistics,

(8) Mathematics and Statistics for Research,

(9) Artificial Intelligence

7. รศ.ดร.สุขสันต์ พาณิชพาพิบูล

- B.S.(Electrical and Computer Engineering) Carnegie Mellon University, USA, 2543

- M.S.(Electrical and Computer Engineering) Carnegie Mellon University, USA, 2545

- Ph.D. (Electrical and Computer Engineering) Carnegie Mellon University, USA, 2549

งานวิจัย:

(1) Ad Hoc Wireless Networks,

(2) Intelligent Transportation Systems,

(3) Vehicular Networks,

(4)  Performance Modeling

ตำราหรือหนังสือ: Self-Organizing Traffic Information Systems: Challenges and Design Issues, 2012

ภาระงานสอน:

(1) Mathematics and Statistics for Research,

(2) Introduction to Computer Systems,

(3) Mobile Communication Technology,

(4) Probability and Statistics,

(5) Computer Simulation and Modeling

8. ผศ.อัครินทร์ คุณกิตติ

- วศ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2531

- วศ.ม.วิศวกรรมไฟฟ้าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2537

งานวิจัย:

(1) Computer Systems,

(2) Data Communication and  Network,

(3) Distributed Systems,

(4) Embedded Systems

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Network and IT Infrastructure Management,

(2) Distributed Systems and Technology,

(3) Internet Service Technology,

(4) Computer Systems Organization and Operating Systems

 

9. ผศ.ดร.ภัทรชัย ลลิตโรจน์วงศ์

- วท.บ. วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2534

- M.Sc.(Computer Science)Illinois Institute of Technology, USA,2537

- Ph.D.(Computer Science)Illinois Institute of Technology, USA,2542

งานวิจัย:

(1) Cognitive Modeling,

(2) Automated Reasoning,

(3) Artificial Intelligence,

(4) Intelligent Agents,

(5) Database,

(6) Data Warehouse,

(7) Data Mining

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Foundations of Information Technology,

(2) Advanced Database Systems,

(3) Database Design and Management,

(4) Expert Systems

10.ผศ.ดร.บุญประเสริฐ สุรักษ์รัตนสกุล

- วท.บ. วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,2541

- วท.ม. วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2546

- Ph.D.(Science and Technology)Tokai University, Japan,2557

งานวิจัย:

(1) Software Engineering,

(2) Knowledge Engineering,

(3) Object-Oriented Technology

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Object-Oriented Technology,

(2) Requirement Engineering,

(3) Software Modeling with UML, (4) Foundations of Information Technology

11. ผศ.ดร.ธนิศา นุ่มนนท์

- วศ.บ. วิศวกรรมระบบควบคุม (เกียรตินิยม)  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2536

- M.Sc.(Computer Engineering)University of Southern California, USA,2540

- Ph.D.(Computer Science)สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2555

งานวิจัย:

(1) Web Services,

(2) Cloud Computing,

(3) Big Data,

(4) Machine Learning

ตำราหรือหนังสือ: การสร้างโปรแกรมภาษาจาวา

ภาระงานสอน:

(1) Web Services Architecture and Implementation,

(2) Object-Oriented Technology,

(3) Mobile Device Programming,

(4) Web Programming,

(5) SOA and Service Programming

12. ผศ.ดร.สมเกียรติ วังศิริพิทักษ์

- B.Eng.(Electronics, Information, and Communication Engineering)Waseda University, Japan,2539

- M.Eng.(Electronics, Information, and Communication EngineeringWaseda University, Japan,2541

- Ph.D.(Engineering Science)University of Oxford, UK,2554

งานวิจัย:

(1) Image Processing,

(2) Computer Vision,

(3) Human-Computer Interface,

(4) Visual Navigation,

(5) Visual Simultaneous Localization and Mapping,

(6) Digital Watermarking,

(7) Pattern Recognition,

(8) Text to Speech,

(9) Expert System

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) C ++ Programming for Image Processing and Computer Vision, (2) Object-Oriented Concepts,

(3) Virtual Reality,

(4) C++ GUI Programming,

(5) Software Verification and Validation,

(6) Computer Vision

13. ผศ.ดร.ปานวิทย์ ธุวะนุติ

- วศ.บ. วิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2541

- วศ.ม.วิศวกรรมไฟฟ้า  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2546

- วศ.ด. วิศวกรรมไฟฟ้า  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2552

งานวิจัย:

(1) Communication Network,

(2) Computer Networks,

(3) Signal Processing

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Queueing Theory and Its Applications,

(2) Queueing Theory,

(3) Microprocessor,

(4) Data Communication and Networks,

(5) Practical Computer Networking,

(6) Mathematics for Information Technology,

(7) Network Administration, Design, and Management,

(8) Fundamentals of Computer Networks,

(9) Computer Simulation and Modeling

14. ผศ.ดร.สุเมธ ประภาวัต

- วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2536

- วศ.ม. วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2546

- Ph.D.(Information Sciences)Tohoku University, Japan,2554

งานวิจัย:

(1) Computer and Communication Networks,

(2) Traffic Engineering and Congestion Control,

(3) Load Balancing and Distribution,

(4) Information System Security,

(5) Network Appliance

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Data Communication and Networks,

(2) Practical Computer Networking,

(3) Computer Networks,

(4) Information Systems Security,

(5) Network Administration, Design, and Management,

(6) Fundamentals of Computer Networks

15. ผศ.ดร.ธีรพงศ์ ลีลานุภาพ

- วศ.บ. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,  2546

- M.Sc.(Software System Engineering)University of Glasgow, UK,2550

- Ph.D.(Computing Science)University of Glasgow, UK,2555

งานวิจัย:

(1) Information Retrieval,

(2) Human-Computer Interaction

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Software Engineering,

(2) Information Retrieval,

(3) Information Systems Development

16. ผศ.ดร.มานพ พันธ์โคกกรวด

- วท.บ. เคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2537

- คอ.ม.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,2547

- ปร.ด. คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,2554

งานวิจัย:

(1) Cloud Computing,

(2) Web-based Technology,

(3) E-learning,

(4) Decision Support System,

(5) Expert Systems,

(6) Image Processing,

(7) Cheminformatics

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Information System Analysis and Design,

(2) Mobile Application Design and Development,

(3) Object-Oriented Programming

17. ผศ.ดร.สุภกิจ นุตยะสกุล

- คอ.บ.อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2542

- วศ.ม. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2546

- วศ.ด. วิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2554

งานวิจัย:

(1) Optimization Techniques,

(2) Evolutionary Computation Techniques,

(3) Recognition and Classification

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Introduction to Computer System,

(2) Information Systems Development,

(3) Operating System,

(4) Research Methodology and Statistics

18. ผศ.ดร.ณฐพล พันธุวงศ์

- วศ.บ. วิศวกรรมสารสนเทศ(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2543

- วท.ม. เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2549

- Ph.D.(Computing and Communication Systems)The University of Tokyo, Japan,2555

งานวิจัย:

(1) Human Computer Interaction Technology,

(2) Computer Graphics,

(3) Computer Animation,

(4) Computer Vision,

(5) Image Processing,

(6) Virtual Reality

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Digital Image Processing,

(2) Introduction to Multimedia Technology,

(3) Computer Programming,

(4) Computer Organization,

(5) Game Programming,

(6) Mathematics for Information Technology,

(7) 3D Computer Graphics and Animation,

(8) Discrete Mathematics,

(9) Virtual Reality,

(10) User Interface and Interaction Design,

(11) Probability and Statistics,

(12) Interactive 3D Computer Graphics,

(13) Computer Graphics and  Animation

19. อ.อนันตพัฒน์ อนันตชัย

- คอ.บ. วิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2542

- วท.ม. การศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2546

งานวิจัย: Development of Computer Assisted Instruction

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Introduction to Digital Systems,

(2) Microprocessor,

(3) Computer Programming

20. ดร.ลภัส ประดิษฐ์ทัศนีย์

- วศ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2541

- M.Eng.(Computer and Telecommunication Engineering)University of Wollongong, Australia,2545

- Ph.D.(Information Technology)Queensland University of Technology, Australia,  2557

งานวิจัย:

(1) Routing for Mobile Robots,

(2) QoS in Wireless Networks and Next Generation Networks,

(3) Software Defined Network

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Fundamental of Computer Networks,

(2) Computer Networking for Enterprise and ISP,

(3) Practical Computer Network

21. ดร.นล เปรมัษเฐียร

- วศ.บ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2538

- M.S.(Computer Engineering)University of Southern California, USA,2541

- Ph.D.(Computer Engineering)University of Louisiana, USA,2545

งานวิจัย: Cryptography

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Artificial Intelligence,

(2) Data Communications and Network Technologies,

(3) Database Systems Concepts,

(4) Mathematics and Statistics for Research,

(5) Data Structures and Algorithms,

(6) Dynamic Programming,

(7) Information Systems Security,

(8) Computer Simulation and Modeling,

(9) Network And System Security,

(10) Error Control Coding

22. ดร.สุภวรรณ อันนันหนับ

- วศ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2543

- วศ.ม. วิศวกรรมสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2547

- Ph.D.(Electrical Engineering)University of Electro-Communication, Japan,2551

งานวิจัย:

(1) Human Computer Interaction,

(2) Multimedia Technology

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Multimedia and Web Technology,

(2) Multimedia Programming

23. อ.พิชญพงษ์ ตันติกุล

- วศ.บ.วิศวคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,2549

- M.Sc.(Computer Science)University of California Irvine, USA,2554

งานวิจัย:

(1) Software Engineering,

(2) Information Retrieval,

(3) Software Security

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Information Technology Fundamental,

(2) Object-Oriented Programming,

(3) Information Systems Security,

(4) Information Systems Security,

(5) Information Systems Analysis And Design

24. ดร.บัณฑิต ฐานะโสภณ

- วศ.บ. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550

- M.Sc.(Knowledge and Information Systems Management)  University of Southampton, UK,2554

- Ph.D.(Management)University of Hull, UK,2558

งานวิจัย:

(1) IT Innovation Adoption,

(2) Open Innovation,

(3) IT-based Service Innovation Development

ตำราหรือหนังสือ: N/A

ภาระงานสอน:

(1) Data Analysis for Business,

(2) Information Technology Project Management

3.2.3  อาจารยพิเศษ

ไม่มี

4.      องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน หรือสหกิจศึกษา) (ถ้ามี)

- การฝึกงาน

(1)   ลักษณะของงานที่ได้รับมอบหมาย

(2)   คณาจารย์และสถานประกอบการ

 

- สหกิจศึกษา

(1)   ลักษณะของงานที่ได้รับมอบหมาย

(2)   คณาจารย์และสถานประกอบการ

(3)   คณะกรรมการสหกิจศึกษา

 

4.1. มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม

     ความคาดหวังในผลการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา มีดังนี้      

-                   มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานประกอบการได้

-                   สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากชั้นเรียนทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจได้

-                   พัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจจากสถานประกอบการ

-                   สามารถบูรณาการความรู้จากชั้นเรียนเพื่อนำไปแก้ปัญหาในการฝึกปฏิบัติจริงได้

-                   มีมนุษยสัมพันธ์ เสียสละ อดทน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี

-                   สามารถถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ภาคสนามให้ผู้อื่นได้

 

- การฝึกงาน

การประเมินจากอาจารย์ที่ปรึกษา สถานประกอบการ และความสำเร็จของการฝึกงาน

- สหกิจศึกษา

การประเมินจากคณะกรรมการสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา สถานประกอบการ และความสำเร็จของโครงการ

 

4.2. ช่วงเวลา

- การฝึกงาน

ภาคฤดูร้อน ของปีการศึกษาที่ 3

- สหกิจศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 4

 

4.3. การจัดเวลาและตารางสอน

- การฝึกงาน

ในเวลาราชการของภาคฤดูร้อนของปีการศึกษาที่ 3 หรือ ตามตารางการฝึกของแต่ละสถานประกอบการที่นักศึกษาเลือกฝึก ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 7สัปดาห์

- สหกิจศึกษา

     5-6วันต่อสัปดาห์เป็นเวลาอย่างน้อย 16 สัปดาห์ หรือจัดเต็มเวลาใน 1 ภาคการศึกษา

5. ขอกําหนดเกี่ยวกับการทําโครงงานหรืองานวิจัย (ถามี)

     (1)  กำหนดหัวข้อโครงงาน (1 และ 2) หรือวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

(2)   หัวข้อโครงงานต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

(3)   การติดตามโครงงาน

(4)   การสอบและประเมินผลโครงงาน

5.1 คําอธิบายโดยยอ

ศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยในหัวข้อปัจจุบันที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบโครงการ ที่สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจภายใต้การดูแลและแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อที่จะสามารถนำเสนอหัวข้อ และผลการทดลองเบื้องต้นที่ได้จากการแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติการ หรือจากการวิเคราะห์เชิงวิชาการ เพื่อที่จะสามารถนำเสนอผลการทดลองที่สมบูรณ์ในหัวข้อที่ได้เสนอและศึกษา

5.2 มาตรฐานผลการเรียนรู

(1)   คุณภาพโครงงาน (Project based)

(2)   การพัฒนาองค์ความรู้

(3)   การประยุกต์ใช้องค์ความรู้

5.3 ชวงเวลา

ภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 3 ถึง ภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 4

5.4 จํานวนหนวยกิต

     6 หน่วยกิต

5.5  การเตรียมการ

 (1)  มีการแบ่งความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของอาจารย์ที่ปรึกษา

 (2)  มีอาจารย์ประจำหลักสูตรทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลและให้คำปรึกษา

 (3)  มีการติดตามงานจากอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ

 (4)  มีการประเมินความก้าวหน้าและความพร้อมของโครงการในการสอบ

5.6 กระบวนการประเมินผล

(1)   มีการแต่งคณะกรรมการพิจารณา

(2)   คณะกรรมการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงงาน

(3)   มีการติดตามงานจากอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการ

(4)   การนำเสนอผลงานด้วยปากเปล่าและโปสเตอร์

(5)   การสอบและประเมินผลโครงงานจากคณะกรรมการ

(6)   การส่งโครงงานฉบับสมบูรณ์

 

FACEBOOK ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม