ทบทวนการทำงานโต้ตอบของระบบฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ โครงสร้างและการทำงานของซีพียู การจัดองค์กรระบบหน่วยความจำ ระบบอินพุต-เอาต์พุต บทบาทของคอมไพล์เลอร์ในระบบคอมพิวเตอร์กับการโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง หลักปรัชญาของริสค์และซิสค์ และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง
หลักสูตร
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3 (3-0-6)
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3(3-0-6)
ศึกษาองค์ประกอบและความคิดรวบยอดของระบบ การจำลองแบบระบบ บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร การพัฒนาระบบ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์กรและขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้แก่ การสำรวจระบบงานปัจจุบัน การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การจัดหาระบบ การปฏิบัติการระบบ การบำรุงรักษาระบบ และการทบทวนระบบ
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3(3-0-6)
การส่งและการสื่อสารข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูล เทคนิคการสื่อสารข้อมูลเชิงดิจิตอล การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่าย เซอร์กิตสวิตช์ชิ่งและแพ็กเกตสวิตช์ชิ่ง เครือข่ายแบบท้องถิ่นและเมือง สถาปัตยกรรมการสื่อสารคอมพิวเตอร์ โพรโทคอลและสถาปัตยกรรม มาตรฐานโอเอสไอ ระบบไอเอสดีเอน ระบบเบสแบนด์ ไอเอสดีเอน และบรอดแบนด์ ไอเอสดีเอน เฟรมรีเรย์ และเซลรีเลย์
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3(3-0-6)
การออกแบบและการวิเคราะห์อัลกอริทึมโดยเฉพาะเมื่อกระทำกับข้อมูลที่ซับซ้อน และกระบวนการแบบไม่เป็นตัวเลข เทคนิคการออกแบบอัลกอริทึมเบื้องต้น รวมถึงอัลกอริทึมแบบกรีดดี้ แบบ Divide-and-Conquer และการโปรแกรมเชิงพลวัต การวิเคราะห์ขอบต่ำและขอบสูงของโปรแกรม ปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น โดยมุ่งประเด็นไปที่การแทนข้อมูล และวิธีการค้นหาด้วยตัวเอง การตรวจสอบอัลกอริทึมและผลกระทบของอัลกอริทึมของการคำนวณแบบขนาน ระบบปฏิบัติการ และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3(3-0-6)
การพัฒนาความรู้ทางด้านระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ใช้ระบบสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเป็นส่วนสำคัญขององค์กรสมัยใหม่ เทคนิคและการบริหารที่จำเป็นเพื่อความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีลักษณะเป็นตัวประมวลผลสารสนเทศ เครื่องมือในการตัดสินใจ และเป็นตัวเชื่อมระหว่างการจัดการกับองค์กร
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3(3-0-6)
หัวข้อขั้นสูงเกี่ยวกับระบบการจัดการฐานข้อมูล การจัดการกู้คืนข้อมูลด้วยวิธีการใช้แฟ้มประวัติแบบต่าง ๆ และหน่วยความจำเงา การจัดหน่วยความจำคั่นกลาง การจัดการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยวิธีการต่างๆ แนวความคิดของคอดด์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูลและข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงในอนาคต แบบจำลองเชิงแนวคิดชนิดต่างๆ และการแปลงแบบจำลองเชิงแนวคิดเป็นโครงสร้าง ข้อมูลระดับตรรกะ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ ลำดับชั้นของชนิดการถ่ายทอดคุณสมบัติหลายชั้น การประมวลคำถามเชิงวัตถุ ส่วนขยายเพิ่มเติมของระบบรีเลชั่นแนล
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3 (3-0-6)
Operating systems, computer system architecture, data structures, algorithm and programming concepts, object-oriented programming concepts, database system concepts, database design, information representation and retrieval.
ระบบปฏิบัติการ สถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูล แนวคิดขั้นตอนวิธีและการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แนวคิดการโปรแกรมเชิงวัตถุ แนวคิดระบบฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูล การแทนและค้นคืนสารสนเทศ
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตัวเอง)
3 (3-0-6)
สมการเชิงเส้น เวกเตอร์และเมทริกซ์ การแยกเมทริกซ์ ปริภูมิเวกเตอร์ เรขาคณิตวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานด้านตรรกศาสตร์ เซต ทฤษฎีตัวเลข ลักษณะของข้อมูล ทฤษฏีการนับและความน่าจะเป็น ความถี่และฟังก์ชันการแจกแจงข้อมูล การประมาณค่ากลาง ค่าเบี่ยงเบนและระดับความเชื่อมั่น การทดสอบสมมติฐานเชิงสถิติสำหรับตัวประมาณค่าแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์ความแปรปรวน
Linear equations, vectors and matrices, matrix decomposition, vector spaces, analytic geometry, fundamental concepts in logic and set, number theory, attributes of data, counting and probability theory, frequency and data distribution functions, estimation of central tendency, variance and confidence interval, statistical hypothesis testing for various estimators, Analysis of Variance (ANOVA).