ประวัติคณะ
โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับความเห็นชอบจากสภา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2537 ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ อธิการบดี ในขณะนั้นได้มีวิสัยทัศน์ และเล็งเห็นถึงบทบาทความสำคัญ และแนวโน้ม ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อการพัฒนาประเทศ ประกอบกับความต้องการ ของตลาดแรงงานที่ขาดแคลนบุคลากร ที่มีศักยภาพในด้านนี้อยู่มาก อนึ่งเพื่อให้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาล และสภาพการแข่งขันของ สถาบันอุดมศึกษาที่สูงขึ้น และจึงต้องการความ คล่องตัวในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ และพึ่งตนเองมากขึ้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงจัดตั้งขึ้น โดยไม่มีการแบ่งเป็นภาควิชาต่างๆ และได้รับสถาปนาเป็นส่วนราชการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 คณะฯ ได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตรแรก ซึ่งมีสองแขนงวิชา คือ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Management) และ วิทยาการสารสนเทศ (Information Science) โดยเปิดสอนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2538 เป็นต้นมา
ปี 2545 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสาร สนเทศ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตร เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความแข็งแรงทางด้านวิชาการ และคุณธรรม เพื่อตอบสนองสังคม รวมทั้งเป็นการปูพื้นฐานบันฑิตเพื่อต่อยอดเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท ซึ่งได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2546
ปี 2547 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2547
ปี 2551 ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เป็น 2 แขนงวิชา คือ เทคโนโลยีระบบสารสนเเทศ (Infornation System Technologies - IST) และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (Information Technology and Management -ITM)
ปี พ.ศ. 2552 - ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 2 แขนงวิชา ดังนี้
1) แขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ (Information System Technologies - IST)
2) แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (Information Technology and Management - ITM)
ปี พ.ศ. 2554 - ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นไปตามตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
- ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) แบ่งเป็น 4 แขนงวิชา ดังนี้
1) แขนงวิชาวิทยาการสารสนเทศ (Information Science – IS)
2) แขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ (Information System Technologies - IST)
3) แขนงวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบ (Network and Systems Technologies - NST)
4) แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (Information Technology and Management - ITM)
- ปรับปรุงหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
ปรัชญา
การศึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
ปณิธาน
สร้างคน หมายถึง การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพดังกล่าว ได้แก่
- การผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเป็นที่ยอมรับ
- การผลิตบัณฑิตให้มีทักษะด้านปัญญา คือ มีความสามารถในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้
- การผลิตบัณฑิตให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคม คือ มีความเป็นกัลยาณมิตร มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม
มุ่งวิจัย หมายถึงมุ่งมั่นค้นคว้าในศาสตร์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
รับใช้สังคม หมายถึง มุ่งมั่นสร้างประโยชน์ให้สังคมด้วยการให้บริการทางวิชาการ โดยการถ่ายทอดความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในรูปแบบของการจัดอบรมวิชาการ การให้คำปรึกษา รวมถึงการช่วยวิเคราะห์ปัญหาและให้คำแนะนำไปสู่คำตอบ
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่ใช้นวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(to be an organization with innovation for educational excellence in Information Technology)
คณะจะขับเคลื่อนองค์กรผ่านการสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้นวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับ สู่ความเลิศระดับภูมิภาคในการให้บริการการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
พันธกิจ
ด้านการผลิตบัณฑิต
1.1 ผลิตบัณฑิตทุกระดับ ได้แก่ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
1.2 ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
1.3 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสังคม
ด้านการวิจัย
2.1สร้างงานวิจัยขั้นสูงระดับนานาชาติ
2.2สร้างงานวิจัยเชิงประยุกต์ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน
ด้านการบริการวิชาการและบริการสังคม
3.1. ถ่ายทอดความรู้ในศาสตร์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ให้แก่สังคมอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
3.2ให้คำปรึกษา ช่วยวิเคราะห์และหาคำตอบประเด็นปัญหา
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย
4.1 ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย
4.2 บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา
วัตถุประสงค์
- ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความ ต้องการของสังคม ทั้งด้าน วิชาการ คุณธรรม และมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง
- ดำเนินการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สร้างสรรค์งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้ได้จริง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจและสังคม
- เผยแพร่และบริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในหน่วย งานภาครัฐและภาคเอกชนโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมมาตรฐานที่มีหลักสูตรและ การวัดความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
- รักษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีของสังคมไทย
ค่านิยมคณะ : IT@WORKS หมายถึง บุคลากร นักศึกษา และบัณฑิตของคณะ มีความสามารถทำงานได้จริง และเป็นมืออาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
อัตลักษณ์คณะ : บัณฑิตพร้อมทำงาน (IT Prompt) หมายถึง บัณฑิตมีความรู้และทักษะพร้อมในการทำงานที่ตรงกับสายงานและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามหลักสูตรที่ศึกษา
เอกลักษณ์คณะ : นวัตกรรมล้ำสมัย หมายถึง คณะเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม