คำถามเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554
1. หลักสูตรทั้งฉบับปัจจุบัน และปรับปรุงใหม่ ประกอบไปด้วย 2 แผน การเรียน ได้แก่ แผน ก และ แผน ข แผนการเรียนดังกล่าว แตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบ: แผน ก เป็นแผนการเรียนที่ต้องมีการทำวิจัยเพื่อจัดทำและสอบวิทยานิพนธ์ โดยแบ่งย่อยออกเป็น แผน ก1 ที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีวิชาเรียน และแผน ก2 ที่ต้องเรียนบางรายวิชาในชั้นเรียน นอกเหนือจากการทำวิทยานิพนธ์
ส่วนแผน ข เป็นแผนการเรียนที่เน้นการเรียนรายวิชาในชั้นเรียน โดยไม่มีการทำวิจัยหรือจัดทำวิทยานิพนธ์ หากแต่จะมีการจัดทำโครงงานศึกษาอิสระในปีที่ 2 แทน
2. หลักสูตรฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2554 แตกต่างในสาระสำคัญจากหลักสูตรเดิมในด้านใดบ้าง?
คำตอบ: สาระสำคัญของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มีใน 3 ด้าน อันได้แก่
ก) แขนงวิชา หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะในหลักสูตร ซึ่งเดิมหลักสูตรประกอบไปด้วย 2 แขนงวิชา อันได้แก่ แขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ และ แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ ในหลักสูตรใหม่ ได้ทำการเพิ่มแขนงวิชาใหม่ที่นอกเหนือจาก 2 แขนงวิชาดังกล่าว ซึ่งได้แก่
• แขนงวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบ (แผน ข ไม่มีวิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ต้องการความเชี่ยวชาญเพิ่มเติมทางด้านการบริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
• แขนงวิชาวิทยาการสารสนเทศ (แผน ก มีวิทยานิพนธ์) แขนงวิชานี้แยกออกมาจากแขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ในแผนการเรียนแบบมีวิทยานิพนธ์ (แผน ก) ทั้งนี้เพื่อให้ชื่อแขนงวิชาสอดคล้องกับงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐาน และรองรับผู้สนใจเข้าศึกษาเพื่อทำวิจัยในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมงานวิจัยทั้งทางด้าน ระบบสารสนเทศและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ด้านเครือข่าย ด้านสื่อประสม ระบบอัจฉริยะ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลและจัดการสารสนเทศ
ข) การปรับปรุงรายวิชาเฉพาะแขนงวิชา ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแต่ละแขนงวิชามากขึ้น เช่น ในแขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ได้เพิ่มวิชาทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ในขณะที่แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ ได้มีการเพิ่มวิชาเฉพาะแขนงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเทคโนโลยี (เช่น วิชากลยุทธ์สากลและนวัตกรรม หรือ GLOBAL STRATEGY AND INNOVATION และ วิชาองค์กรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ELECTRONIC ENTERPRISE)
ค) การปรับเปลี่ยนข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละแขนงวิชา ให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตรที่ปรับปรุงและความต้องการของผู้สนใจเข้าศึกษาต่อ
3. แขนงวิชาต่าง ๆ เรียนแตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบ: ในหลักสูตร ได้แบ่งวิชาเรียนในชั้นเรียนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ วิชาบังคับร่วม ที่ต้องเรียนทุกแขนงวิชา วิชาบังคับเฉพาะแขนง และวิชาเลือก สรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
แขนงวิชา |
วิชาบังคับร่วม |
วิชาบังคับเฉพาะแขนง |
วิชาเลือก |
---|---|---|---|
วิทยาการสารสนเทศ (IS) แผน ก2 |
1. FOUNDATIONS OF INFORMATION TECHNOLOGY
2. INFORMATION SYSTEMS DEVELOPMENT
3. MANAGEMENT INFORMATION SYSTEMS
4. INFORMATION LITERACY AND TECHNICAL WRITING
|
MATHEMATICS AND STATISTICS FOR RESEARC |
จำนวน 2 วิชา รายละเอียดโปรดศึกษาจากคู่มือหลักสูตร |
เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ (IST) แผน ข |
1. COMPUTER NETWORKS
2. SOFTWARE ENGINEERING
3. MULTIMEDIA AND INTELLIGENT SYSTEMS
4. BUSINESS SYSTEMS AND MANAGEMENT
5. ADVANCED DATABASE SYSTEMS
|
||
เทคโนโลยีเครือข่ายและระบบ (NST) แผน ข |
1. COMPUTER NETWORKS
2. MULTIMEDIA AND INTELLIGENT SYSTEMS
3. NETWORK ADMINISTRATION, DESIGN, AND MANAGEMENT
4. NETWORK AND SYSTEM SECURITY
5. INFORMATION TECHNOLOGY GOVERNANCE AND SERVICE MANAGEMENT
|
||
เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (ITM) แผน ก2 | RESEARCH METHODOLOGY AND STATISTICS | ||
เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (ITM) แผน ข |
1. DATA COMMUNICATIONS AND NETWORK TECHNOLOGIES
2. DATABASE DESIGN AND MANAGEMENT
3. GLOBAL STRATEGY AND INNOVATION
4. ELECTRONIC ENTERPRISE
5. INFORMATION TECHNOLOGY PROJECT MANAGEMENT
|
4. ทำไมแขนงวิชา IST และ NST จึงมีเฉพาะแผน ข ไม่มีแผน ก?
คำตอบ: เนื่องจากใน 2 แขนงวิชาดังกล่าว มีความแตกต่างเฉพาะในส่วนของวิชาบังคับแขนงเท่านั้น ซึ่งสำหรับแผน ก จะไม่ได้เรียนวิชาเหล่านั้น จึงไม่ได้กำหนดแผน ก ไว้แยกตามแขนงวิชาอันจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและขาดความยืดหยุ่นในการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยผู้สนใจเข้าศึกษาในแผน ก เพื่อทำวิจัยทั้งทางด้าน ระบบสารสนเทศและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และทางด้านระบบเครือข่าย ตลอดจนงานวิจัยทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสมัครเข้าเรียนในแขนงวิชาวิทยาการสารสนเทศของหลักสูตรเดียวกันนี้ได้
5. แต่ละแขนงวิชาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบ: ดังรายละเอียดต่อไปนี้
(1) แขนงวิชาวิทยาการสารสนเทศ เป็นแขนงวิชาที่เน้นการทำวิจัย เนื้อหามุ่งให้ผู้ศึกษามีความรอบรู้ในด้านต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ มีทักษะในการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่
(2) แขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เนื้อหามุ่งให้ผู้ศึกษามีความรอบรู้ในด้านต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศที่สำคัญ ตลอดจนความรู้เฉพาะทางด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศและซอฟต์แวร์
(3) แขนงวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบ เนื้อหามุ่งให้ผู้ศึกษามีความรอบรู้ในด้านต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเการวางแผน และบริหารจัดการครือข่ายและระบบคอมพิวเตอร์
(4) แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ เนื้อหามุ่งให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้ด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศในเชิงกว้าง มีความรู้ในด้านการวางแผนและบริหารจัดการเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการจัดการและวางแผนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศในองค์กร หรือเพื่อการเพิ่มพูนความรู้ให้เพียงพอแก่การเข้าสู่สายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. คณะฯ มีทุนการศึกษาให้หรือไม่ ประเภทใดบ้าง?
คำตอบ: ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ทุนทั่วไปในระดับสถาบันฯ และทุนในระดับคณะฯ สำหรับทุนในระดับคณะฯ ประกอบไปด้วย
(1) ทุนยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาในแผนการเรียนที่เน้นการทำวิจัย (แผน ก) จำนวนประมาณ 5-10 ทุน
(2) ทุนผู้ช่วยนักวิจัย (Research Assistant - RA) เป็นลักษณะของค่าจ้างรายเดือนในอัตราประมาณ 5,000 – 8,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงานและโครงการวิจัยที่เป็นเจ้าของตำแหน่งดังกล่าว ทั้งนี้ สำหรับผู้สนใจทุนดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามอาจารย์ที่ต้องการให้รับเป็นที่ปรึกษาได้โดยตรง หรือตรวจสอบจากประกาศของทางคณะฯ
(3) ทุนผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant - TA) ทำหน้าที่ช่วยสอนในบางรายวิชาระดับปริญญาตรี โดยทุนดังกล่าวให้เป็นรายภาคการศึกษา ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท
7. จากคุณสมบัติของผู้สมัครในแขนงวิชา IS, IST, และ NST ระบุว่าหากไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ วิศวกรรมสารสนเทศ จะต้องเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ในส่วนของการพิจารณาว่าวิชาใดเป็นวิชาในด้านที่กำหนด มีหลักเกณฑ์หรือแนวการพิจารณาอย่างไร?
คำตอบ: แนวการพิจารณาจะใช้รายวิชาที่เป็นมาตรฐานโดยทั่วไปในหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น หลักสูตรในสาขาต่าง ๆ ดังกล่าวของทางสถาบันฯ เอง หรือตามข้อกำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นหลักในการพิจารณาเทียบเคียง หากผู้สมัครมีข้อสงสัย สามารถส่งสำเนา Transcript มาที่คณะฯ เพื่อพิจารณาก่อนการชำระเงินค่าสมัครสอบเข้าศึกษาต่อ
8. ในการสมัครเข้าเรียนต่อ สามารถเลือกสมัครเข้าเรียนต่อได้มากกว่า 1 แขนงวิชา ได้หรือไม่?
คำตอบ: สำหรับแขนงวิชา IST และ NST สามารถเลือกสมัครได้ทั้ง 2 แขนงวิชา โดยเรียงลำดับตามความสนใจ และชำระเงินค่าสมัครเพียงครั้งเดียว
แต่หากเลือกแขนงวิชา IS หรือ ITM สามารถเลือกได้เพียง 1 แขนงวิชาเท่านั้น เนื่องจากในแขนงวิชา IS มีวันเวลาเรียนแตกต่างจากแขนงอื่น ๆ (เรียนในเวลาราชการ) ส่วนสำหรับแขนงวิชา ITM ข้อสอบเข้าแตกต่างจากข้อสอบสำหรับแขนงวิชา IST และ NST ซึ่งเนื่องจากเวลาสอบตรงกัน จึงไม่สามารถสมัครได้